วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Fruit song


แผนการสอนเรื่องผลไม้


แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้อนุบาลปีที่  3

หน่วยการเรียนรู้   เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก                 
หน่วยการเรียนรู้ย่อย   ผลไม้หลากสีน่ารู้


ความคิดรวบยอด

                รอบตัวเรามีผลไม้ต่างๆ  มากมาย  ซึ่งผลไม้แต่ละชนิดมีลักษณะ  รูปร่าง  สี  และรสชาติ  แตกต่างกันออกไป


ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้

1.             ทักษะการสังเกต

2.             ทักษะการวัด

3.             ทักษะการจำแนกประเภท


จุดประสงค์การเรียนรู้เชิงพฤติกรรม

1.             เด็กสามารถร้องเพลง  พร้อมเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลงได้

2.             เด็กสามารถตอบคำถามจากปริศนาคำทายได้

3.             เด็กสามารถอธิบายผลการสังเกตลักษณะของผลไม้ได้

4.             เด็กสามารถทำกิจกรรมแต่ละฐานที่กำหนดไว้ได้


เนื้อหาสาระการเรียนรู้

                ส้มมีลักษณะกลม  ผิวเรียบ  มีทั้งสีเขียวและสีส้มอมเหลือง  เนื้อของส้มมีสีส้ม  รสชาติเปรี้ยวอมหวาน ประโยชน์ของส้ม  คือ  กินแล้วผิวสวย

                มะนาวมีลักษณะกลม  ผิวเรียบ  มีสีเขียวเมื่อสุกจัดจะเป็นสีเหลือง  เนื้อของมะนาวมีสีเขียวอมเหลือง  รสชาติเปรี้ยว  ประโยชน์ของมะนาว  คือ  ใช้ปรุงอาหาร

                ฝรั่งมีลักษณะกลม  ผิวไม่ค่อยเรียบ  มีสีเขียวอ่อน  เนื้อของฝรั่งมีสีขาว  รสชาติหวานเล็กน้อย  ประโยชน์ของฝรั่ง  คือ  กินแล้วอิ่ม

                แตงโมมีลักษณะกลมหรือกลมยาว  ขนาดใหญ่  ผิวเรียบ  มีสีเขียวแก่หรือสีเขียวอ่อน  เนื้อของแตงโมมีสีแดง  รสชาติหวาน  ประโยชน์ของแตงโม  คือ  แก้คอแห้ง

                กล้วยมีลักษณะยาวรี  ผิวเรียบ  มีสีเขียวเมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง  เนื้อของกล้วยมีสีเหลือง  รสชาติหวาน ประโยชน์ของกล้วย  คือ  กินแล้วแข็งแรง  ขับถ่ายง่าย


กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นนำ

1.             เด็กร้องเพลง  แอปเปิ้ล  มะละกอ  กล้วย  ส้ม  พร้อมเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลง  (5  นาที)

ขั้นสอน

1.             เด็กทายปัญหาปริศนาคำทาย  (5  นาที)

-                   อะไรเอ่ยกลมๆ  กินได้  รสหวาน  มีเมล็ด  (ส้ม)

-                   อะไรเอ่ยลูกเล็ก  กลมๆ  กินได้  ใช้ปรุงอาหาร  รสเปรี้ยว  มีเมล็ด  (มะนาว)

-                   อะไรเอ่ยกลมๆ  สีเขียวอ่อน  กินได้โดยที่ไม่ต้องปอกเปลือก  มีเมล็ด  (ฝรั่ง)

-                   อะไรเอ่ยกลมๆ  สีเขียวเข้ม  ข้างในสีแดง  รสหวาน  มีเมล็ด  (แตงโม)

-                   อะไรเอ่ยยาวๆ  มีสีเหลือง  กินได้  รสหวาน  (กล้วย)

2.             เด็กทายถูกแต่ละข้อแล้วเด็กที่ตอบถูกก็จะออกมาหยิบผลไม้ที่ตอบได้  ครูติดบัตรคำและร่วมกันอภิปรายรูปร่าง  ลักษณะของผลไม้ที่ทายถูกในข้อนั้นๆ  และทำอย่างนี้จนเด็กทายปัญหาปริศนาคำทายครบทุกข้อ

3.             แบ่งกลุ่มเด็ก  4  กลุ่ม  กลุ่มละ  6  คน  2  กลุ่ม  กลุ่มละ  7  คน  2  กลุ่ม  โดยการจับฉลากหมวกผลไม้ เด็กคนไหนจับได้หมวกผลไม้ได้รูปเดียวกันก็จะได้อยู่กลุ่มเดียวกัน  (5  นาที)

4.             เด็กเข้าฐานแต่ละฐานซึ่งมีทั้งหมด  4  ฐาน  ประกอบด้วย

-                   ฐานที่  1  สังเกตรูปร่างทั้งภายนอกและภายในของส้ม , มะนาว , ฝรั่ง , แตงโม , กล้วย  (5 นาที)

-                   ฐานที่  2  สังเกตเมล็ดของส้ม , มะนาว , ฝรั่ง , แตงโม , กล้วย  (5  นาที)

-                   ฐานที่  3  วัดขนาดความยาวรอบของส้ม , มะนาว , ฝรั่ง , แตงโม , กล้วย  (5  นาที)

-                   ฐานที่  4  ชิมรสชาติของส้ม , มะนาว , ฝรั่ง , แตงโม , กล้วย  (5  นาที)

โดยที่เด็กวาดภาพและบันทึกข้อมูลลงในใบกิจกรรมที่ครูแจกให้

5.             เด็กนำเสนอผลการสังเกตลักษณะของผลไม้ในแต่ละฐาน  โดยครูเป็นผู้ตั้งคำถามกระตุ้น  (10  นาที)

6.             เด็กและครูร่วมกันอภิปรายถึงประโยชน์ของส้ม , มะนาว , ฝรั่ง , แตงโม , กล้วย  (5  นาที)


ขั้นสรุป

1.             เด็กทำกิจกรรมศิลปะโดยให้เด็กวาดภาพผลไม้ตามที่เด็กชอบและนำเสนอผลงาน  (10  นาที)

2.             เด็กและครูร่วมกันสรุปลักษณะและประโยชน์ของส้ม , มะนาว , ฝรั่ง , แตงโม , กล้วย  (5  นาที)


สื่อการเรียนรู้

1.             ส้ม , มะนาว , ฝรั่ง , แตงโม , กล้วย  อย่างละ  4  ผล

2.             บัตรคำส้ม , มะนาว , ฝรั่ง , แตงโม , กล้วย

3.             จานรองผลไม้ , ผ้าคลุม  5  ผืน

4.             หมวกผลไม้  26  ใบ

5.             ช้อน  26  ใบ

6.             มีด

7.             โซ่ที่ใช้เล่นหมากเก็บ , เชือกป่าน

8.             สีเทียน , สีไม้ , สีชอล์ก

9.             กระดาษ  A4

10.      ใบกิจกรรมบันทึกผลในแต่ละฐาน


การวัดและการประเมินผล

การวัด

1.                        สังเกตจากการร่วมมือของเด็กขณะร้องเพลง  พร้อมเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลง

2.                        สังเกตจากการตอบคำถามของเด็ก

3.                        สังเกตจากการทำงานในแต่ละฐานของเด็ก

4.                        ตรวจจากใบกิจกรรมการบันทึกข้อมูลของเด็ก

5.                        ตรวจจากผลงานศิลปะของเด็ก


การประเมินผล

1.    เด็กสามารถร้องเพลง  พร้อมเคลื่อนไหวร่างกายประกอบเพลงได้อย่างสนุกสนาน

2.    เด็กสามารถตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง

3.    เด็กสามารถบันทึกผลการสังเกตลงในใบกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง

4.    เด็กสามารถวาดภาพผลไม้และบันทึกข้อมูลลงในใบกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง

5.    เด็กสามารถวาดรูปผลไม้และให้สีผลไม้ที่ตนเองชอบได้อย่างถูกต้อง